การทำจดหมายเวียน (Mail Merge)
จดหมายเวียน คือ จดหมายทีมีข้อความเติมซ้ำๆ กันทุกๆ ฉบับจดหมายแต่ละฉบับแตกต่างเฉพาะบางส่วนของจดหมาย เท่านั้น ตัวอย่างจดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายเชิญตัวแทนจำหน่ายสินค้ามาประชุมที่สำนักงานใหญ่ จดหมายนี้จะมีข้อความ เชื้อเชิญมาประชุมเหมือนกันทุกฉบับ แต่ละฉบับจะแตกต่างกันเพียงชื่อและ ที่อยู่เท่านั้น ลองคำนวณดูว่าถ้าคุณมีตัวแทน 300 คน คุณต้องแก้จดหมายในที่เดิมๆ มากมายเพียงใด
การใช้ Microsoft Word ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนดังกล่าวอาจทำได้ง่ายขึ้น โดยคุณสร้างจดหมายที่มีข้อความจะใช้ ร่วมกันไว้ก่อน จากนั้นก็กำหนดให้ Word ใส่ข้อความที่แตกต่างกันนั้นโดยอัตโนมัติ วิธีดังกล่าวมีขั้นตอนดังนี้
เริ่มแรกด้วยการสร้างเนื้อความในจดหมาย
ขั้นตอนแรกของการทำจดหมายเวีย ก็คือ การจัดทำตัวจดหมายที่มีข้อความที่จะใช่ร่วมกัน เราเรียกจดหมายนี้ว่า เอกสารหลัก โดยคุณต้องเว้นที่ว่างไว้สำหรับใส่ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นของผู้รับ ต่อจากนั้นก็ให้ Save จดหมายนี้เก็บไว้เพื่อไว้ใช้ใน คราวต่อๆ ไป
สร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย
ขั้นตอนที่สองที่คุณต้องทำก็คือ การเก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้รับจดหมาย เช่น ชื่อ ที่อยู่ ตำแหน่ง บริษัท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บในลักษณะ เป็นแบบฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า แหล่งเก็บข้อมูล คือ คุณสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ทุกเมื่อตามต้องการ วิธีการสร้างตารางเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ทำได้ดังนี้
1 เลือกคำสั่ง Tool > Mail Merge (จดหมายเวียน)จะปรากฏ Mail Merge Helper (ตัวช่วยเหลือจดหมายเวียน)ไดอะล็อกบ็อกซ์
2 คลิก mouse ที่ปุ่ม แล้วคลิก mouse เลือก Form Letters (จากจดหมาย..)
3 คลิก mouse ที่ปุ่ม เพื่อกำหนดว่าจะสร้างจดหมายเวียนจากจดหมายฉบับที่คุณกำลังเปิดอยู่นี้
4 คลิก mouse ที่ปุ่ม แล้วคลิก mouse เลือก Create Data Source (สร้างจากแหล่งข้อมูล) จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ขึ้นมา
5 เลือกหัวข้อ Field Name ที่จะใช้ในตารางข้อมูล โดยดูหัวข้อรายการจาก Field names in header row (ชื่อเขตข้อมูลในบรรทัดนำ) โดยสามารถกำหนดดังนี้
- ถ้าหัวข้อใดไม่ต้องการ ให้ คลิก mouse เลือกหัวข้อนั้น แล้วคลิก mouse ที่ปุ่ม
- ถ้าต้องการเพิ่มหัวข้อลงในรายการ ให้กรอกหัวข้อใหม่ในกรอบ Field name : จากนั้นให้คลิก mouse ที่ปุ่ม
6 เมื่อทำการกำหนดเรียบร้อยให้คลิก mouse ที่ปุ่ม OK
7 ตั้งชื่อไฟล์และกำหนดตำแหน่งสำหรับ save ตารางฐานข้อมูลของคุณ
8 คลิก mouse ที่ปุ่ม save ก็จะปรากฏ
9 คลิก mouse ที่ปุ่ม ก็จะปรากฏรูปแบบการกรอกข้อมูลขึ้นมาเพื่อจะใส่ข้อมูลของผู้รับจดหมาย ในตารางฐานข้อมูล
กรอกข้อมูลลงในตารางฐานข้อมูล
1 กรอกข้อมูลต่างๆ ของผู้รับโดยต้องกรอกให้ตรงกับหัวข้อที่คุณได้กำหนดไว้
2 เมื่อกรอกข้อมูลของคนแรกเรียบร้อยให้คลิก mouse ที่ปุ่ม Add new (เพิ่มใหม่) สำหรับจะกรอกข้อมูลของคนต่อไป
3 เมื่อกรอกข้อมูลครบทุกคนแล้วให้คลิก mouse ที่ปุ่ม ok
กำหนดตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลในจดหมาย
1 คลิก mouse ในตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลในจดหมาย
2 คลิก mouse ที่ปุ่ม Insert Merge Field (แทรกเขตข้อมูลผสาน) จะปรากฏหัวข้อที่คุณได้กำหนดได้ในตารางฐานข้อมูล
3 คลิก mouse เลือกหัวข้อ (Field Name) คือ จะเป็นการแทรกชื่อ หรือข้อมูลต่างๆที่เราจะเลือกใส่ จะปรากฏหัวข้อที่คุณเลือกในจดหมาย
4 ทำข้อ 2 และ 3 ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะกำหนดหัวข้อ (Field Name) ที่ต้องการเรียบร้อย
ทำการทดสอบผลลัพธ์การสร้างจดหมายเวียน
คุณสามารถทดสอบว่าผลลัพธ์นั้นถูกต้องตามที่คุณต้องการหรือไม่ โดยจะมีเมนูในการทำงาน ดังนี้
1 คลิก mouse ที่ปุ่ม เพื่อกำหนดให้แสดงผลลัพธ์
2 ตรวจสอบผลลัพธ์ในจดหมายฉบับแรกของคุณ
3 คลิก mouse ที่ปุ่ม สำหรับตรวจดูจดหมายฉบับต่อๆ ไป
ใส่ข้อมูลของผู้รับในจดหมาย
เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะกำหนดสิ่งต่างๆ ลงในจดหมายเวียนของคุณ โดยคุณสามารถเลือกว่า จะให้เก็บผลลัพธ์ที่ได้นั้นใส่ลงในเอกสารฉบับใหม่ หรือกำหนดให้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เลยทันที ส่วนตัวแล้วมักจะใช้วิธีแรก มากกว่า คือ จะเก็บผลลัพธ์ไว้ เพราะสามารถแก้ไขในรายละเอียดบางจุดของจดหมายในแต่ละฉบับได้
การผลิตจดหมายเวียนทำได้ดังนี้
1 คลิก mouse ที่ปุ่ม จะปรากฏ Merge ไดอะล็อกบ็อกซ์
2 กำหนดว่าจะให้เก็บผลลัพธ์ของจดหมายเวียนนี้ไปไว้ที่ใด โดยคลิก mouse ที่ New document (สร้างเอกสาร)
- ถ้าเลือก New document คือการเก็บที่เอกสารฉบับใหม่
- ถ้าเลือก Printer คือการสั่งพิมพ์ผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ทันที
3 เลือกว่าจะให้ดึงข้อมูลจากตารางฐานข้อมูลใดบ้าง ดังนี้
- คลิก mouse เลือก all (ทั้งหมด) คือจะดึงข้อมูลจากตารางฐานข้อมูลมาทั้งหมด
- คลิก mouse เลือก from (จาก) คือ คุณจะเป็นผู้กำหนดช่วงของการดึงข้อมูล จากนั้นคุณต้องกำหนดว่าจะดึงข้อมูลลำดับที่เท่าใด ในฐานข้อมูลด้วย
4 คลิก mouse ที่ปุ่ม (ถ้าคุณเลือก New document คุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ได้ในเอกสารฉบับใหม่ทันที) ก็จะได้ผลลัพธ์ก็คือ เห็นข้อมูลของผู้รับจดหมายทั้งหมดที่จะส่งออกทางจอของคุณ
วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551
resume
นาย ไชยณรงค์ วชิรสาโรจน์
อายุ 3... ส่วนสูง 175 น้ำหนัก 75 สุขภาพ สมบรูณ์ มีการตรวจสุขภาพประจำปีของหน่วยงานทุกปี
อายุ 3... ส่วนสูง 175 น้ำหนัก 75 สุขภาพ สมบรูณ์ มีการตรวจสุขภาพประจำปีของหน่วยงานทุกปี
วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551
ผมพบภาพนี้โดยบังเอิญ จากหนังสือ Thailand in Pictures (prepared by James Nach. New York: Sterling, 1963) ซึ่งตรงกับปี 2506
คำอธิบายใต้ภาพมีใจความว่า ” ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย’ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ตรงกลาง ‘ถนนสมัยใหม่’ ประเทศไทยยังไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยประชาธิปไตย แต่ก็มีสัญญานหลายๆ อย่างที่ชี้ว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้”
ภาพนี้น่าสนใจต่างจากภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ “อนุสาวรีย์” ประชาธิปไตย เพราะเรามักเห็นภาพอนุสาวรีย์ดังกล่าวแบบล้อมไปด้วยผู้คนจำนวนมากที่มาชุมนุมกันจนล้นถนน หรือภาพที่เป็นภาพราชดำเนินเมื่อถูกปิดถนนแล้วมีขบวนพีธีต่างๆ โดยเฉพาะพิธีฉลองวันชาติในอดีต (ว่าง่ายๆว่าภาพข้างบนดูเหมือนไม่ค่อยมี “ความสำคัญทางประวัติศาสตร์” มากกว่า “ความเก่า” ของภาพ)
ภาพนี้ก็อาจจะแปลกตาไปอีกสักหน่อย เพราะเป็นภาพของ ห้าเสือ คมช. เอ้ย ... ภาพไอ้มดแดงห้าตัวกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากไตเติลภาพยนตร์เรื่อง หนุมาน พบ 5 ไอ้มดแดง ซึ่งผลิตในปี 2517 โดยไชโยภาพยนตร์ หนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 (1)
ผมนึกถึงงานเขียนที่ว่าด้วยเรื่อง “สงครามอนุสาวรีย์กับรัฐไทย” ที่ผู้เขียนให้ทัศนะถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า “ในแง่ศิลปะ อนุสาวรีย์แห่งนี้ คือความล้มเหลว (เพราะ) นอกจากความกำกวมของสารที่สื่อแล้ว รายละเอียดทั้งหมดที่บรรยายมา (หมายถึงรายละเอียดของการออกแบบเพื่อสื่อถึงอำนาจของประชาชนและความก้าวหน้าของประเทศชาติ) ไม่สามารถสื่ออะไรได้เลย เพราะผู้ออกแบบได้ตั้งใจมาแต่ต้นแล้วที่จะวางอนุสาวรีย์ไว้กลางถนน ผู้ชมอนุสาวรีย์จึงเป็นคนที่เคลื่อนที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว รายละเอียดที่กล่าวแล้วนี้จะบอกอะไรได้ก็ต่อเมื่อผู้ชมต้องเดินทอดน่องชมอนุสาวรีย์ไปช้าๆ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงเป็นอนุสาวรีย์ที่ไม่มีพลัง (นอกจากชื่อของมัน) จืดสนิทเท่ากับซีเมนต์กองใหญ่กลางถนนเท่านั้น” (2)
น่าแปลกประหลาดที่ผมไม่ได้เห็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็น “อนุสาวรีย์” มานานแล้ว (อาจเพราะผมไม่มีหัวทางศิลปะ หรือไม่ได้คิดว่าอนุสาวรีย์เป็นสื่อทางอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่างที่ผมพร้อมจะรับสารทางการเมืองเหล่านั้นด้วยตาเปล่า)
ผมกลับเห็น(อนุสาวรีย์)ประชาธิปไตยเป็น “วงเวียน” ที่มีอนุสาวรีย์อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นไปได้ว่าผมไม่ได้คิดว่าผมจะเดินทอดน่องที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ผมมองเห็นสิ่งที่คนเรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นวงเวียน อาจเป็นเพราะว่าผมนั้นเป็นเพียง “ผู้ใช้รถ(ใช้ถนน?)”
หมายถึงว่าการดำรงอยู่ของ(อนุสาวรีย์)ประชาธิปไตยนั้นอาจเป็นเรื่องของการทำหน้าที่ของการเป็นวงเวียน และวงเวียนก็มีทั้งประโยชน์ เสน่ห์ และ ข้อจำกัดของมัน
ที่สำมะคัญยิ่ง วงเวียนก็คงต้องอยู่กลางถนน จะไปอยู่ตรงอื่นไม่ได้ (แต่อาจไม่ต้องอยู่ตรงกลางภาพนักก็ได้ เหมือนภาพไอ้มดแดงข้างบน) เนื่องจากวงเวียนมันคู่กับยวดยานพาหนะ ซึ่งหมายความว่าความสัมพันธ์ระหว่าง(ผู้ใช้)ยานพาหนะกับวงเวียนนั้นอาจไม่ใช่เรื่องของ “ความทรงจำ/การไม่จำ” หรือ “สำนึกประวัติศาสตร์” แต่อาจเป็นเรื่องของ “ประโยชน์ใช้สอยประจำวัน” ของวงเวียนในแต่ละวัน
และหมายถึงว่าในกรณีนี้ผมไม่สนใจกำเนิดและความเป็นมาของวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เท่ากับความเคยชินในการใช้สอยวงเวียนและถนนดังกล่าวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย (3)
ผมเองเป็นคนหลงรักวงเวียน ยิ่งได้มีโอกาสเดินทางไปหลายๆที่ก็ได้พบกับสังคมที่เขามีวงเวียนอยู่หลายแบบ และถ้าจะพูดถึงเมืองไทยก็คงจะพูดได้ว่า เหลือวงเวียนแบบที่เขาใช้กันในหลายๆประเทศอยู่น้อยมาก คือ วงเวียนที่ไม่มีไฟสัญญานไฟเขียวแดง แต่เป็นวงเวียนเฉยๆ
ผมมองว่าวงเวียนเป็นเรื่องของการสร้างสถาบันบางอย่าง (institutional arrangement) ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอารยะอยู่ไม่น้อย และอาจเป็นเรื่องที่เราหลงลืมว่าเคยมีอยู่กับบ้านเรามาก่อนจะมีการพยายามรื้อวงเวียนบ้าง เอาไฟแดงไปใส่วงเวียนบ้าง ย้ายวงเวียนออกไปบ้าง ทำสะพานข้ามมาแทนบ้าง เพราะเชื่อว่าวงเวียนเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของยานพาหนะ และผู้คนจำนวนมากที่มีชีวิตด้วยการอาศัยยานพาหนะเหล่านั้น (ตัวอย่างของวงเวียนอนุสาวรีย์ “พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” หรือวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่เป็นตัวอย่างสำคัญ ทั้งในเรื่องการจัดการจราจร การจัดการวงเวียน และการโยกย้ายตัวอนุสาวรีย์ไปๆมาๆ (4))
ทั้งนี้แม้ในกรณีหลายกรณีวงเวียนอาจจะไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่มากมายมหาศาลได้ ซึ่งแตกต่างไปจากยุคแรกของการสร้างวงเวียน แต่หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการใช้วงเวียนก็คือ การบริหารจัดการความขัดแย้งและการเผชิญหน้าบางประการที่เกิดขึ้นในการจราจร หรือพูดง่ายๆ มันเป็นกฏเกณฑ์บางอย่างที่เรายอมรับร่วมกัน เมื่อเกิด “ทางแยก” ขึ้นมา ไม่ว่าจะสามแยก สี่แยก ห้าแยก
การมีวงเวียนก็คือการทำให้ทุกฝ่ายนั้นสามารถเคลื่อนที่ไปได้ ด้วยการยอมรับกฏเกณฑ์บางประการ ซึ่งโดยหลักการแล้ว ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าสู่วงเวียนอย่างเท่าๆกัน และรถที่เข้าสู่วงเวียนนั้นย่อมต้องไปก่อน และผลัดกันไปทีละคันจากแยกต่างๆ และสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงก่อนในการเข้าวงเวียนก็คือ “การดำรงอยู่และสิทธิรถคันอื่นๆ” ไม่ใช่ “จะมีหัวปิงปองไหม” หรือ “เร่งก่อนไฟจะแดง” (5)
แม้จะมีการพูดถึงว่าการที่มีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาวางอยู่ตรงกลางถนนราชดำเนินเป็นเรื่องของสงครามขั้นแตกหัก (หรือบางรายตีความว่าเป็นเรื่องของความต่อเนื่อง) ระหว่าง ถนน “ราชดำเนิน” กับ อนุสาวรีย์ “ประชาธิปไตย” แต่สิ่งที่ผู้ใช้รถใช้ถนนและใช้วงเวียน สนใจน่าจะอยู่ที่ว่า วงเวียนกับถนนจะจัดความสัมพันธ์กันอย่างไรเสียมากกว่า (6)
ในกรณีของวงเวียนประชาธิปไตยนั้น เราคงพูดถึงการจัดความสัมพันธ์ระหว่างถนนราชดำเนิน และถนนดินสอ (ที่ต่อเนื่องไปเป็นถนนประชาธิปไตย) ที่อย่างน้อยวงเวียนประชาธิปไตยก็ทำหน้าที่ให้คนจากถนนสายเล็กๆนั้นสามารถเข้าสู่(และออกจาก) ถนนราชดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางของพวกเขาได้
ถ้าเราคิดว่าว่าประชาธิปไตยเป็นเสมือนวงเวียน และเราเข้าใจหลักการพื้นฐานของวงเวียนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เราอาจจะไม่รู้สึกแปลกแยกกับประชาธิปไตยมากนัก เพราะเรา “ใช้” มันอยู่ทุกวัน และ อาจไม่ต้องรู้ “ที่มา” ของมันก็ได้
เหมือนที่รู้สึกว่าวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของถนนราชดำเนิน และขณะเดียวกัน ถนนราชดำเนินถ้าขาดวงเวียน(อนุสาวรีย์)ประชาธิปไตยซะ ก็อาจจะติดขัดมากขึ้น เพราะสุดท้ายถ้ารถติดจริง ถนนราชดำเนินและวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็คงรองรับรถและคนที่ต้องการใช้ถนนราชดำเนินไม่พออยู่ดี (7)
ผมเป็นคนรักและหลงเสน่ห์ของวงเวียน แม้ว่าหลายคนจะบอกผมว่าใน “โลกแห่งความเป็นจริง” วงเวียนจะไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างเพียงพอ และควรจะยกเลิกวงเวียนไปใช้สะพานลอยข้ามแยก หรือทำให้เป็นแยกไฟเขียวไฟแดงเฉยๆ ...
... ในสถานการณ์ที่ถนนราชดำเนินรถติดมากขึ้นทุกวัน ...
เชิงอรรถขยายความ:
(1) เกร็ดจากภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เข้าฉายในประเทศญี่ปุ่น เพราะไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ได้รับลิขสิทธิ์ในการถ่ายทำจากบริษัทโตอิ ซึ่งถือลิขสิทธิ์ไอ้มดแดง ซึ่งแตกต่างไปจากกรณีภาพยนตร์ หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ และ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ กรุณาดูรายละเอียดใน Hanuman and the
คำอธิบายใต้ภาพมีใจความว่า ” ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย’ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ตรงกลาง ‘ถนนสมัยใหม่’ ประเทศไทยยังไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยประชาธิปไตย แต่ก็มีสัญญานหลายๆ อย่างที่ชี้ว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้”
ภาพนี้น่าสนใจต่างจากภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ “อนุสาวรีย์” ประชาธิปไตย เพราะเรามักเห็นภาพอนุสาวรีย์ดังกล่าวแบบล้อมไปด้วยผู้คนจำนวนมากที่มาชุมนุมกันจนล้นถนน หรือภาพที่เป็นภาพราชดำเนินเมื่อถูกปิดถนนแล้วมีขบวนพีธีต่างๆ โดยเฉพาะพิธีฉลองวันชาติในอดีต (ว่าง่ายๆว่าภาพข้างบนดูเหมือนไม่ค่อยมี “ความสำคัญทางประวัติศาสตร์” มากกว่า “ความเก่า” ของภาพ)
ภาพนี้ก็อาจจะแปลกตาไปอีกสักหน่อย เพราะเป็นภาพของ ห้าเสือ คมช. เอ้ย ... ภาพไอ้มดแดงห้าตัวกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากไตเติลภาพยนตร์เรื่อง หนุมาน พบ 5 ไอ้มดแดง ซึ่งผลิตในปี 2517 โดยไชโยภาพยนตร์ หนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 (1)
ผมนึกถึงงานเขียนที่ว่าด้วยเรื่อง “สงครามอนุสาวรีย์กับรัฐไทย” ที่ผู้เขียนให้ทัศนะถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า “ในแง่ศิลปะ อนุสาวรีย์แห่งนี้ คือความล้มเหลว (เพราะ) นอกจากความกำกวมของสารที่สื่อแล้ว รายละเอียดทั้งหมดที่บรรยายมา (หมายถึงรายละเอียดของการออกแบบเพื่อสื่อถึงอำนาจของประชาชนและความก้าวหน้าของประเทศชาติ) ไม่สามารถสื่ออะไรได้เลย เพราะผู้ออกแบบได้ตั้งใจมาแต่ต้นแล้วที่จะวางอนุสาวรีย์ไว้กลางถนน ผู้ชมอนุสาวรีย์จึงเป็นคนที่เคลื่อนที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว รายละเอียดที่กล่าวแล้วนี้จะบอกอะไรได้ก็ต่อเมื่อผู้ชมต้องเดินทอดน่องชมอนุสาวรีย์ไปช้าๆ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงเป็นอนุสาวรีย์ที่ไม่มีพลัง (นอกจากชื่อของมัน) จืดสนิทเท่ากับซีเมนต์กองใหญ่กลางถนนเท่านั้น” (2)
น่าแปลกประหลาดที่ผมไม่ได้เห็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็น “อนุสาวรีย์” มานานแล้ว (อาจเพราะผมไม่มีหัวทางศิลปะ หรือไม่ได้คิดว่าอนุสาวรีย์เป็นสื่อทางอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่างที่ผมพร้อมจะรับสารทางการเมืองเหล่านั้นด้วยตาเปล่า)
ผมกลับเห็น(อนุสาวรีย์)ประชาธิปไตยเป็น “วงเวียน” ที่มีอนุสาวรีย์อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นไปได้ว่าผมไม่ได้คิดว่าผมจะเดินทอดน่องที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ผมมองเห็นสิ่งที่คนเรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นวงเวียน อาจเป็นเพราะว่าผมนั้นเป็นเพียง “ผู้ใช้รถ(ใช้ถนน?)”
หมายถึงว่าการดำรงอยู่ของ(อนุสาวรีย์)ประชาธิปไตยนั้นอาจเป็นเรื่องของการทำหน้าที่ของการเป็นวงเวียน และวงเวียนก็มีทั้งประโยชน์ เสน่ห์ และ ข้อจำกัดของมัน
ที่สำมะคัญยิ่ง วงเวียนก็คงต้องอยู่กลางถนน จะไปอยู่ตรงอื่นไม่ได้ (แต่อาจไม่ต้องอยู่ตรงกลางภาพนักก็ได้ เหมือนภาพไอ้มดแดงข้างบน) เนื่องจากวงเวียนมันคู่กับยวดยานพาหนะ ซึ่งหมายความว่าความสัมพันธ์ระหว่าง(ผู้ใช้)ยานพาหนะกับวงเวียนนั้นอาจไม่ใช่เรื่องของ “ความทรงจำ/การไม่จำ” หรือ “สำนึกประวัติศาสตร์” แต่อาจเป็นเรื่องของ “ประโยชน์ใช้สอยประจำวัน” ของวงเวียนในแต่ละวัน
และหมายถึงว่าในกรณีนี้ผมไม่สนใจกำเนิดและความเป็นมาของวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เท่ากับความเคยชินในการใช้สอยวงเวียนและถนนดังกล่าวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย (3)
ผมเองเป็นคนหลงรักวงเวียน ยิ่งได้มีโอกาสเดินทางไปหลายๆที่ก็ได้พบกับสังคมที่เขามีวงเวียนอยู่หลายแบบ และถ้าจะพูดถึงเมืองไทยก็คงจะพูดได้ว่า เหลือวงเวียนแบบที่เขาใช้กันในหลายๆประเทศอยู่น้อยมาก คือ วงเวียนที่ไม่มีไฟสัญญานไฟเขียวแดง แต่เป็นวงเวียนเฉยๆ
ผมมองว่าวงเวียนเป็นเรื่องของการสร้างสถาบันบางอย่าง (institutional arrangement) ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอารยะอยู่ไม่น้อย และอาจเป็นเรื่องที่เราหลงลืมว่าเคยมีอยู่กับบ้านเรามาก่อนจะมีการพยายามรื้อวงเวียนบ้าง เอาไฟแดงไปใส่วงเวียนบ้าง ย้ายวงเวียนออกไปบ้าง ทำสะพานข้ามมาแทนบ้าง เพราะเชื่อว่าวงเวียนเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของยานพาหนะ และผู้คนจำนวนมากที่มีชีวิตด้วยการอาศัยยานพาหนะเหล่านั้น (ตัวอย่างของวงเวียนอนุสาวรีย์ “พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” หรือวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่เป็นตัวอย่างสำคัญ ทั้งในเรื่องการจัดการจราจร การจัดการวงเวียน และการโยกย้ายตัวอนุสาวรีย์ไปๆมาๆ (4))
ทั้งนี้แม้ในกรณีหลายกรณีวงเวียนอาจจะไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่มากมายมหาศาลได้ ซึ่งแตกต่างไปจากยุคแรกของการสร้างวงเวียน แต่หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการใช้วงเวียนก็คือ การบริหารจัดการความขัดแย้งและการเผชิญหน้าบางประการที่เกิดขึ้นในการจราจร หรือพูดง่ายๆ มันเป็นกฏเกณฑ์บางอย่างที่เรายอมรับร่วมกัน เมื่อเกิด “ทางแยก” ขึ้นมา ไม่ว่าจะสามแยก สี่แยก ห้าแยก
การมีวงเวียนก็คือการทำให้ทุกฝ่ายนั้นสามารถเคลื่อนที่ไปได้ ด้วยการยอมรับกฏเกณฑ์บางประการ ซึ่งโดยหลักการแล้ว ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าสู่วงเวียนอย่างเท่าๆกัน และรถที่เข้าสู่วงเวียนนั้นย่อมต้องไปก่อน และผลัดกันไปทีละคันจากแยกต่างๆ และสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงก่อนในการเข้าวงเวียนก็คือ “การดำรงอยู่และสิทธิรถคันอื่นๆ” ไม่ใช่ “จะมีหัวปิงปองไหม” หรือ “เร่งก่อนไฟจะแดง” (5)
แม้จะมีการพูดถึงว่าการที่มีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาวางอยู่ตรงกลางถนนราชดำเนินเป็นเรื่องของสงครามขั้นแตกหัก (หรือบางรายตีความว่าเป็นเรื่องของความต่อเนื่อง) ระหว่าง ถนน “ราชดำเนิน” กับ อนุสาวรีย์ “ประชาธิปไตย” แต่สิ่งที่ผู้ใช้รถใช้ถนนและใช้วงเวียน สนใจน่าจะอยู่ที่ว่า วงเวียนกับถนนจะจัดความสัมพันธ์กันอย่างไรเสียมากกว่า (6)
ในกรณีของวงเวียนประชาธิปไตยนั้น เราคงพูดถึงการจัดความสัมพันธ์ระหว่างถนนราชดำเนิน และถนนดินสอ (ที่ต่อเนื่องไปเป็นถนนประชาธิปไตย) ที่อย่างน้อยวงเวียนประชาธิปไตยก็ทำหน้าที่ให้คนจากถนนสายเล็กๆนั้นสามารถเข้าสู่(และออกจาก) ถนนราชดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางของพวกเขาได้
ถ้าเราคิดว่าว่าประชาธิปไตยเป็นเสมือนวงเวียน และเราเข้าใจหลักการพื้นฐานของวงเวียนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เราอาจจะไม่รู้สึกแปลกแยกกับประชาธิปไตยมากนัก เพราะเรา “ใช้” มันอยู่ทุกวัน และ อาจไม่ต้องรู้ “ที่มา” ของมันก็ได้
เหมือนที่รู้สึกว่าวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของถนนราชดำเนิน และขณะเดียวกัน ถนนราชดำเนินถ้าขาดวงเวียน(อนุสาวรีย์)ประชาธิปไตยซะ ก็อาจจะติดขัดมากขึ้น เพราะสุดท้ายถ้ารถติดจริง ถนนราชดำเนินและวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็คงรองรับรถและคนที่ต้องการใช้ถนนราชดำเนินไม่พออยู่ดี (7)
ผมเป็นคนรักและหลงเสน่ห์ของวงเวียน แม้ว่าหลายคนจะบอกผมว่าใน “โลกแห่งความเป็นจริง” วงเวียนจะไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างเพียงพอ และควรจะยกเลิกวงเวียนไปใช้สะพานลอยข้ามแยก หรือทำให้เป็นแยกไฟเขียวไฟแดงเฉยๆ ...
... ในสถานการณ์ที่ถนนราชดำเนินรถติดมากขึ้นทุกวัน ...
เชิงอรรถขยายความ:
(1) เกร็ดจากภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เข้าฉายในประเทศญี่ปุ่น เพราะไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ได้รับลิขสิทธิ์ในการถ่ายทำจากบริษัทโตอิ ซึ่งถือลิขสิทธิ์ไอ้มดแดง ซึ่งแตกต่างไปจากกรณีภาพยนตร์ หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ และ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ กรุณาดูรายละเอียดใน Hanuman and the
แนวการสอน บทความ คอม
โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อ ปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computer)
จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม
โครงสร้างหลักสูตร
มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0)และ/หรือ
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2)และ/หรือ
4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3521101 การบัญชี 1 3521102 การบัญชี 2
4112105 สถิติธุรกิจ 3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับเรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน
(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(210)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้
หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อ ปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computer)
จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม
โครงสร้างหลักสูตร
มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0)และ/หรือ
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2)และ/หรือ
4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3521101 การบัญชี 1 3521102 การบัญชี 2
4112105 สถิติธุรกิจ 3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับเรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน
(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(210)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้
วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)